Design a site like this with WordPress.com
Get started

Jewelry Design in Thai Style 2011

วัตถุประสงค์ของรายวิชา
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลประวัติเครื่องประดับ ผลงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ ยุคสมัย รูปแบบ สกุลช่าง วัสดุ กรรมวิธีการผลิต ปัจจัยแนวคิดที่มีลักษณะและเอกลักษณ์ไทยสมัยต่างๆ รวมถึงการศึกษาผลิตภัณฑ์ที่มีค่าอื่นๆ ของไทย ความแตกต่างของเครื่องประดับและผลิตภัณฑ์มีค่าของแต่ละภูมิภาค อิทธิพลของความเชื่อที่ทำให้เกิดขึ้นลวดลายจิตรกรรม ประติมากรรม รูปแบบ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและอื่นๆในประเทศไทย เพื่อนำมาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบเครื่องประดับและอัญมณี รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆในลักษณะไทย

วัตถุประสงค์ของโจทย์เพื่อการสร้างสรรค์เครื่องประดับไทยร่วมสมัย
เนื่องจากกรมป่าไม้ได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2537) ตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ให้กวางเป็นสัตว์ป่าชนิดที่สามารถขออนุญาตเลี้ยงเพาะพันธุ์ได้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ จากฐานชีวภาพ (สพภ.) มองว่ากวางเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีอนาคตไกล เนื่องจากมีตลาดรองรับไม่อั้นทั้งในและต่างประเทศจึงประชาสัมพันธ์ให้ เกษตรกรหรือผู้สนใจหันมาเลี้ยงกวางในเชิงพาณิชย์กันมากขึ้น เพราะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่คิดว่ามีอนาคตไกล

ฟาร์มกวางของคุณอภิชาติ วัฒนกุล เป็นตัวอย่างของฟาร์มกวางไทยที่กำลังประสบความสำเร็จ เพราะทุกส่วนของกวางนั้นมีประโยชน์ ขายได้ทั้งหมด ทั้งเนื้อ หนัง เขา หาง เอ็น หรือแม้แต่มูล โครงการครั้งนี้  

ภาควิชาฯจึงมองเห็นการนำต้นทุนวัฒนธรรมที่มีอยู่ ได้แก่ เศษเขากวางแก่ที่เหลือจากการนำไปใช้ประโยชน์ นำกลับใช้มาใหม่ด้วยการสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่ประเทศ

ขอบพระคุณผู้สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นรูปธรรม ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะมัณฑนศิลป์ และคุณอภิชาติ วัฒนกุล

Get In Touch

Associate Professor 
Dr. Supavee Sirin-k-raporn 
Full Time Lecturer
Silpakorn University, Bangkok Thailand, 
Jewellery Artist and Designer

*

pearvee@yahoo.com
Tel. 662 623 6115
Ext.1287, 1253
Mobile: 6689 742 5213

*

The Faculty of Decorative Arts, Department of Jewellery Design,
Silpakorn University, Bangkok Thailand
31 Naphralan Road
Phranakorn,Bangkok, 
Thailand 10200